แชร์

คุณสมบัติแผ่นฟิล์มแต่ละชนิด

อัพเดทล่าสุด: 12 มี.ค. 2025
47 ผู้เข้าชม
LLDPE ฟิล์มที่อยู่ในโครงสร้างชั้น Sealing film ถือเป็นชั้นในสุดซึ่งสัมผัสกับสินค้าโดยตรง ฟิล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่น คือ การซีลขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ที่ดีมากๆ ซึ่งถือเป็นตัวเลือกแรกๆในชั้น Sealing film ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

HDPE สามารถทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงถึง 80-100 องศาเซลเซียส แต่พลาสติกHDPE นั้นไม่สามารถทนอุณหภูมิสูงในหม้ออัดไอน้ำ เท่าพลาสติกชนิดPP และพลาสติกHDPE ยังทนต่อสารเคมีมากกว่าพลาสติกLDPE  ทนต่อสภาพอากาศได้ดีพอสมควร แต่อากาศสามารถซึมผ่านได้

PET ฟิล์มที่มีคุณภาพสูง จุดเด่นของฟิล์มชนิดนี้ คือ การทนต่ออุณภูมิที่ไม่ว่าจะอยู่ในอุณภูมิใดก็ตามและความแข็งแรงของฟิล์มที่มีอัตราการยืดหดและเสียรูปทรงน้อย

OPP ฟิล์มที่มีคุณสมบัติเป็น Base film ซึ่งจะอยู่ชั้นนอกสุด ซึ่งทำหน้าที่ในการรับหมึกพิมพ์นั้นเองฟิล์มชนิดนี้เป็นฟิล์มที่นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากราคาค่อนข้างต่ำ ส่วนคุณสมบัติการป้องกันต่างๆก็อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง

 

CPP ฟิล์มที่สามารถเป็นได้ทั้ง Base film และ Sealing film ฟิล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติที่เด่นชัดคือ สามารถซีลขึ้นรูปได้ นิยมใช้กันอยู่เสมอในบรรจุภัณฑ์ที่มีสองโครงสร้าง แต่การใช้แบบสองโครงสร้าง ควรจะคำนึงถึงคุณสมบัติการปกป้องสินค้าด้วย เพราะฟิล์มชนิดนี้ถือเป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติปานกลางเท่านั้น

NYLON ฟิล์มที่นิยมใช้สำหรับซองบรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็ง เพราะคุณสมบัติที่เด่นชัดของฟิล์มชนิดนี้ คือ สามารถทนความเย็นได้ดีมาก ซึ่งเหมาะสำหรับอาหารแช่แข็ง คุณสมบัติการปกป้องสินค้าอาจจะไม่ได้สูงมากนักแต่ก็ถือเป็นตัวเลือกยอดนิยมเช่นกัน

ALUMINEAM กันการซึมผ่านของก๊าซ น้ำ กลิ่น น้ำมัน และแสง ได้อย่างดีเยี่ยม ทําให้สามารถปกป้องและถนอมผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในได้ยาวนานกว่า

MPET เมทัลไลท์เป็นฟิล์มพลาสติกที่ผ่านการเคลือบด้วยโลหะอลูมิเนี่ยม คุณสมบัติทำให้บรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่มป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีแต่ไม่ดีเท่าอลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยยืดอายุของสินค้าภายในได้ดีกว่าแผ่นฟิล์มธรรมดาเหมาะกับการนำไปใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก

MCPP การป้องกันความชื้นและก๊าซได้ดี และมีความสามารถในการป้องกันแสงแดดแสง UV และรังสีอินฟาเรดทำให้ฟิล์มเหล่านี้มีความเหมาะสมที่จะปกป้องสินค้าภายใน

MATT OPP การเคลือบพลาสติก แบบด้านเป็นการเคลือบพลาสติก โดยการใช้ฟิล์มที่มีผิวด้านหน้ามีความขุ่น และ ด้านแสงส่องผ่านได้ยาก ใช้ในการสร้างชิ้นงาน ที่ต้องการลดความเงาของผิวกระดาษ นิยมใช้เพื่อเพิ่มมิติพื้นผิวสัมผัสของชิ้นงาน

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy